ประวัติวัด
วัดกลาง ตั้งอยู่ เลขที่ 16 หมู่ที่ 3 ต.บางพลับ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย และได้ยกฐานะเป็นวัด มีพระภิกษุจำพรรษา เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2551 ในเนื้อที่ของวัด 28 ไร่ 20 ตารางวา โดยมีพระอธิการ ปริญญา ปภสสโร
เดิมวัดกลาง เป็นร้างอยู่ติดถนนสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง เป็นวัดร้างที่ปรกคุมด้วยดงไม้เภาวัลย์ ป่าละเมาะ ต้นข่อย ต้นก้ามปู(จามจุรี) จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ เช่น ไก่ป่า กระต่าย นก หนู งู แมลงป่องช้าง และสัตว์อื่นๆอีกหลายประเภท และขึ้นชื่อที่สุดคือ “ผีดุ” จจนผู้คนสมัยก่อนไม่ค่อยกล้าเดินผ่านในยามค่ำคืน เป็นที่เลื่องลือในความน่ากลัวและความเฮี้ยน โดยเฉพาะโคกอุโบสถเก่ามีพระพุทธรูปเก่า 2 องค์ ชำรุดองค์หนึ่งทำด้วยปูนปั้น อีกองค์หนึ่งทำด้วยหินทราย ชาวบ้านเรียกนามท่านว่า “หลวงพ่อขาว” และ “หลวงพ่อแจ่ม” ทั้งสององค์มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่งพาทางใจในยามมีทุกข์ ในยามป่วยไข้จะมีชาวบ้านที่ศรัทธามาจุดธูปเทียนขอยาสมุนไพรพอที่จะเก็บเอาไปต้มกิน โดยหาสมุนไพรจากบริเวณวัดเอาไปต้มรับประทานกัน
โคกวัดกลางโดยเฉพาะพระพุทธรูปทำด้วยปูนปั้น คงเหลือแต่ลำองค์ หน้าตัก และพระเศียรชำรุดไม่มีเค้าโครงให้เห็น ส่วนพระพุทธรูปหินทราย หน้าตักกับลำองค์แยกออกเป็นชิ้นส่วน พระเศียรหายไป ทั้งสองคงอยู่ในป่าละเมาะ ไม่ได้รับการดูแล จนประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2531 จึงมีคณะศรัทธาได้จุดชนวนประกายความรุ่งโรจน์ของวัดกลางขึ้น ประกอบด้วย
1.นายเชิด หงษ์เผือก 10.อาจารย์วีรชัย พึ่งเนตร
2.นางนันทา หงษ์เผือก 11.คุณประยูร ใจกว้าง
3.นายทองคำ พาษยะวรรณ 12.คุณสนิท สุภาพ
4.นายสุด แก้วกระจ่าง 13.คุณขนิษฐา มาลากิจสกุล
5.คุณตวงสิน สาโทวงศ์ 14.กำนันอำนวย แก้วกระจ่าง
6.แม่กิมไล้ 15.คุณสวิด สั่งสอน
7.คุณวิไลวรรณ ตันติทวีวัฒน์ 16.แม่วิมล สนิทวงศ์
8.คุณมณสวรรค์ ตันติทวีวัฒน์ 17.คุณเดชา กสิผล
9.เจ๊เล็ก
พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนอีกจำนวนหนึ่ง ได้บริจาคปัจจัยและแรงงานช่วยกันทำการถางป่าละเมาะและกำจัดวัชพืช ได้ช่วยกันปลูกอาคารกว้าง 16 เมตร ยาว 12 เมตร ทำการบูรณะหลวงพ่อขาวและหลวงพ่อแจ่มให้สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง และยังเก็บพระหินทรายบริเวณวัดร้างใกล้เคียงมาบูรณะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10 องค์ พร้อมทั้งศรัทธาของประชาชนได้จัดสร้างพระพุทธรูปทองเหลืองถวายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ณ ปัจจุบันนี้
วัดกลาง ได้ยกเป็นวัดสมบูรณ์ มีพระสงฆ์จำพรรษาเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2551 ปัจจุบันได้ทำการสร้างศาลาเอนกประสงค์สองชั้น กว้าง 22 เมตร ยาว 22 เมตร เป็นอาคารสองชั้น มีห้องน้ำ 9 ห้อง ห้องสุขา 14 ห้อง ได้ถมดินเพื่อป้องกันน้ำท่วม และปรับภูมิทัศน์ปลูกต้นไม้เพิ่ม ปัจจุบันได้สร้างอุโบสถเพื่อประกอบศาสนพิธีทางพุทธศาสนา ทำการก่อสร้างประมาณ 2 ปีเศษ โดยการนำการก่อสร้าง และคณะกรรมการร่วม ดังนี้
-
พระอธิการปริญญา ปภสสโร (เจ้าอาวาส)
-
คุณทองคำ พาษยะวรรณ
-
คุณสนิท สุภาพ
-
ตุณสุราช สุขศรี
-
คุณขนิษฐา มาลากิจสกุล
-
คุณสมศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์
-
ช่างทองใบ พงษ์ช้าง (หัวหน้าช่าง)
-
...
พร้อมทั้งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และผู้มีศรัทธาทั่วไปร่วมบริจาค
กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของวัดกลางตามปฏิทินของพุทธศาสนา และของมหาเถระสมาคมกำหนด แต่ที่พิเศษคือวันมาฆะบูชาของทุกปี ทางเจ้าอาวาสและคณะกรรมการจัดงานรำลึก นิมนต์พระคุณเจ้าเจริญพระพุทธมนต์ถวายสังฆทานชุดใหญ่ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เวียนเทียน



